สามขั้นตอนเพื่อบรรลุเป้าหมายในแผนอาชีพ

19 ก.พ.

สามขั้นตอนเพื่อบรรลุเป้าหมายในแผนอาชีพ
การวางแผนอาชีพก็เหมือนกับเสาไฟที่ให้แสงสว่างตามท้องถนนที่ผ่านไปมา เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทางตลอดเส้นทางนั้น
ย้อนกลับไปในช่วงสองสามเดือนที่ผ่านมา ภาพยนตร์เรื่องหนึ่งที่เข้ามาตีตลาดนั่นก็คือ “Serendipity.” ตามเนื้อเรื่องตัวละครนำต้องลองผิดลองถูกมาตลอด ก่อนที่จะลงเอยด้วยความสุข

แต่นั่นก็เป็นเพียงแค่ในหนัง ในชีวิตจริงต้องผจญทั้งการละทิ้งบางอย่าง เพื่อความก้าวหน้าหรือโชคชะตา การที่จะประสบความสำเร็จสักเรื่องนั้นต้องอาศัยการควบคุมเป็นหลัก ยึดเบาะคนขับเอาไว้ให้มั่นแล้วเดินไปตามทางที่เราต้องการ

ในขอบเขตการประกอบอาชีพ การดำเนินตามเป้าหมายตนเองนั้นอาจจะกินเวลานานหลายปี หยุดนิ่ง ไม่สามารถนำส่วนที่สูญเสียไปกลับคืนมาได้ ดังนั้น การวางแผนการทำงานอย่างดีเยี่ยมย่อมมีส่วนที่ทำให้ดำเนินไปสู่เป้าหมายได้ “แผนการประกอบอาชีพที่ดี เป็นเหมือนเสาไฟที่ให้แสงสว่างตามท้องถนนที่ผ่านไปมา เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการเดินทางตลอดเส้นทางนั้น” Rosalie Duran ที่ปรึกษาแนะแนวการเข้ามหาวิทยาลัย กล่าว

ใครคือผู้ที่ต้องใช้ แผนประกอบอาชีพ? คำตอบคือ ทุกคน หากคุณสามารถเลือกประเภทงานที่เหมาะสมกับตนเอง คุณก็แน่ใจได้เลยว่า ตนเองจะประสบความสำเร็จในด้านการประกอบอาชีพ :

ความเจ็บปวดจากการถูกลอยแพ หรือ การลดพนักงาน
ทำงานด้วยความรู้สึกเหมือนถูกไฟลน และไม่ทราบอนาคตของตนเอง
ครุ่นคิดถึงความเปลี่ยนแปลงในการทำงาน
วางแผนหางานใหม่
ลาออกก่อนกำหนด และกำลังมองหางานใหม่
ตอนนี้ยังมีงานทำ แต่ต่อไปไม่แน่
พึ่งจบการศึกษาและไม่แน่ใจว่าต้องการทำงานแบบใด
พัฒนาแผนการประกอบอาชีพ
การวางแผนเกี่ยวกับการทำงานจะเกี่ยวข้องกับสามขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. รู้จักตนเอง– — การเลือกอาชีพดูเหมือนจะเป็นการตัดสินใจครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิตของคนเรา เพราะนั่นคือตัวกำหนดรายได้ที่จะเกิดขึ้น จากความสามารถของเราเอง และไม่น่าเชื่อว่าหลายคนยอมทนอยู่กับอาชีพที่ตนเองเกลียดได้ หรือไม่ได้ใช้ความสามารถที่แท้จริงในการทำงานเลย เพราะพวกเขาไม่เคยเกิดความสงสัยว่า จริงๆแล้วตนเองต้องการอะไร

“การขาดความเชื่อมั่นในตนเอง คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้นักศึกษาบางคนเลือกทำงานที่ห่างไกลจากความสามารถที่แท้จริงของตนเอง และเป็นสาเหตุให้คนย้ายตำแหน่งงานของตนเอง หรือเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเราเลือกเปลี่ยนอาชีพทั้งที่ก้าวไปได้เพียงครึ่งทางเท่านั้น” Duran กล่าว

การสร้างความเชื่อมั่นให้ตนเอง ควรเริ่มต้นจากการค้นหาตนเองว่า “เราเป็นใคร” “เราอยากทำอะไร” “เราทำอะไรได้ดี” “เราทำอะไรบ่อยที่สุด” และคำตอบที่ได้กลับมาจะช่วยให้เราทราบว่าตนเองมีทักษะความสามารถ ความสนใจ ค่านิยม ความชอบส่วนตัว และรูปแบบการทำงานในด้านใด

และในช่วงที่กำลังสำรวจตัวตนของตนเองนั้น อย่าลืมบอกเรื่องนี้ให้คนในครอบครัว เพื่อนสนิทของเราทราบ เพราะพวกเขาอาจช่วยให้คุณค้นพบตัวตนของตนเองได้เร็วขึ้น ซึ่งคนเหล่านั้นต้องเป็นคนที่รู้จักคุณมาเป็นเวลาหลายปี จึงจะสามารถบอกได้ว่าคุณมีจุดอ่อน-จุดแข็งในด้านใดบ้าง

ทำแบบทดสอบบุคลิกภาพหรือความถนัด แล้วใช้ประโยชน์จากคำแนะนำที่ได้จากการทำแบบสำรวจ “การตอบคำถามที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพอาจทำให้ทราบข้อมูลของตนเอง ซึ่งเราไม่เคยทราบมาก่อน แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านการประกอบอาชีพสามารถช่วยให้มองเห็นความสามารถในส่วนนั้นๆได้” Duran กล่าว

2. ศึกษาการประกอบอาชีพ –ปัจจุบันนี้มีอาชีพต่างๆเกิดขึ้นหลายพันอาชีพ หากขาดแผนการทำงาน อาจก่อให้เกิดการเลือกอาชีพที่ไม่เหมาะสมกับตนเองได้ หากรู้จักประเมินความสามารถของตนเองอย่างซื่อสัตย์ โอกาสที่จะเลือกอาชีพได้อย่างเหมาะสมย่อมสูงตามไปด้วย

ควรเลือกประกอบอาชีพโดยยึดจากความรู้สึกภายในเป็นหลัก เลือกงานที่เหมาะสมกับตนเองเท่านั้น วิธีที่จะช่วยให้เก็บข้อมูลเกี่ยวกับอาชีพที่เหมาะสมกับตนเองได้ มี 2-3 วิธี นั่นก็คือ อ่านรายละเอียดอาชีพต่างๆในประกาศรับสมัครงาน หาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต เพราะอินเตอร์เน็ตเป็นแหล่งข้อมูลที่สามารถให้ข้อมูลทุกเรื่องได้อย่างน่าอัศจรรย์

และคุณยังสามารถหาข้อมูลจากประสบการณ์ของผู้อื่นได้ด้วย เช่น บทสัมภาษณ์ของผู้อื่นที่ประกอบอาชีพที่คุณสนใจ หรือสอบถามข้อมูลการทำงานจากผู้อื่น ซึ่งข้อมูลการสัมภาษณ์ เหล่านี้อาจจะช่วยให้คุณทราบสภาพความเป็นจริงเกี่ยวกับการทำงานนั้นๆอีกด้วย

Duran บอกว่า “หากคุณกำลังจะเรียนจบ หรือ พึ่งจบใหม่ ควรปรึกษาฝ่ายแนะแนวของมหาวิทยาลัย ฝ่ายดำเนินการด้านทดลองงาน หรือ กลุ่มที่ให้การสนับสนุนสถาบัน และการประชุมแนะแนวการประกอบอาชีพต่างๆ เพื่อสร้างแนวทางการทำงานให้กับตนเอง”

อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้ทราบว่าข้อมูลการประกอบอาชีพ คือ เข้าไปดูข้อมูลเกี่ยวกับการประกอบอาชีพตามเว็บไซต์ต่างๆ เช่น JobStreet.com และมองหาตำแหน่งงานที่เปิดรับสมัครอยู่ จากนั้นลองเปรียบเทียบคุณสมบัติที่จำเป็นต้องมีสำหรับอาชีพต่างๆ กับความสามารถ ประสบการณ์ และความสนใจของตนเอง

เมื่อคุณได้ข้อมูลที่ต้องการแล้ว ลองเลือกอาชีพที่คุณคิดว่าเหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของตนเอง เพื่อพิจารณาในขั้นต่อไป

3. ตัดสินใจ — ตอนนี้ถึงขั้นตอนสำคัญ : นั่นก็คือการตัดสินใจ หลังจากได้จับมือกับตนเอง เพื่อมองหางานที่เหมาะสมกับตนเองแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนสำคัญ

กลยุทธ์หนึ่งที่จะทำให้สามารถตัดสินใจได้ นั่นก็คือ การร่างความต้องการของตนเองภายใน ระยะเวลาหนึ่งปีลงในกระดาษ จากนั้นก็เพิ่มเป็น 5 ปี หรือ 10 ปี ต่อไป อีกวิธี คือ เปรียบเทียบ ข้อดีและข้อเสียของการทำงาน สำหรับสองหรือสามอาชีพที่ตนเองสนใจมากที่สุด และเลือก อาชีพที่ตนเองคิดว่าเหมาะสมที่สุด

เมื่อตัดสินใจเลือกแล้ว ก็ถึงเวลาทดสอบสิ่งที่เลือกเอาไว้ ต้องค้นหาโอกาสให้ตนเองอีกครั้ง ยอมรับการฝึกงาน เพื่อโอกาสที่จะได้งานในอนาคต หรือเลือกเรียนเกี่ยวกับการทำงานนั้นๆ เพิ่มเติม รวมทั้งหาทางอบรมหรือฝึกปฏิบัติงานเกี่ยวกับอาชีพที่ตนเองสนใจนั้นด้วย

การเตรียมตัวอย่างดี ย่อมดีกว่าการสละสิทธิ์โดยไม่ได้ลองทำอะไรเลย การทำงานชั่วคราว หรืองานอาสาสมัครเป็นการสั่งสมประสบการณ์ในงานทำงานอย่างช้าๆเป็นสิ่งจำเป็น สำหรับการทำงานที่มีคุณภาพ ซึ่งจะกลายเป็นที่พอใจของนายจ้างต่อไป นอกจากนี้ควรเป็น สมาชิกชุมชุมที่มีกิจกรรมเกี่ยวกับการทำงาน เพราะจะช่วยให้สามารถหาคำแนะนำได้จาก สมาชิกท่านอื่นๆ ในการค้นหางาน คำแนะนำ รวมทั้งเป็นบุคคลอ้างอิงให้เราได้อีกด้วย

ก็เหมือนกับ คุณใช้นิ้วจุ่มลงไปในน้ำเพื่อทดสอบ คุณจะพบว่าตนเองได้ประสบการณ์ต่างๆ มากมายโดยไม่มีข้อผูกมัดทั้งด้านเวลา และความมุ่งมั่น หากคุณค้นพบว่า อาชีพที่คุณเลือก ไม่ได้เป็นไปตามที่ตนเองคาดหวังไว้ ก็สามารถหาตัวเลือกใหม่ได้ จนกว่าจะพบสิ่งที่ตนเอง ต้องการ

แต่การวางแผนการประกอบอาชีพก็ยังไม่ใช่จุดสิ้นสุดสำหรับเรื่องนี้ Duran กล่าวว่า กิจกรรมต่างๆจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตามความเปลี่ยนแปลงในตัวคุณ “คุณต้องรู้จักการยืดหยุ่น และพร้อมที่จะพัฒนาแผนการของตนเอง เพื่อค้นหาสิ่งใหม่ๆ ให้กับตนเอง รวมทั้งมองหาโอกาสสร้างความก้าวหน้าให้ตนเองอยู่เสมอ”

ในเรื่องของการทำงาน การวางแผนย่อมทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากกว่าการ การนิ่งเฉย

ใส่ความเห็น